วิธีใช้:เครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ/คู่มือผู้ใช้
![]() |
หมายเหตุ: เมื่อคุณแก้ไขหน้านี้ ถือว่าคุณยินยอมที่จะเผยแพร่งานของคุณภายใต้สัญญาอนุญาต CC0 ดูที่หน้าช่วยเหลือกรณีสาธารณสมบัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
|
![]() |
VisualEditor portal |
---|
General |
About |
Help with the launch |
การเปิดเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ
ในการแก้ไขหน้าโดยใช้เครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ ให้คลิกแถบ "แก้ไข" ที่บนสุดของหน้า
การเปิดหน้าเพื่อแก้ไขอาจใช้เวลาหลายวินาที และนานกว่านั้นหากหน้ามีความยาวมาก คลิกที่แท็บ "แก้ไขต้นฉบับ" จะเปิดตัวแก้ไขข้อความวิกิ (wikitext) แบบดั้งเดิม |
|
คุณยังสามารถเปิดเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพโดยคลิกลิงก์ "แก้ไข" ในแต่ละส่วน |
เริ่มต้น: แถบเครื่องมือของเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ
แถบเครื่องมือเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพปรากฏที่บนสุดของจอภาพเมื่อคุณเริ่มต้นแก้ไข ในแถบมีสัญรูปที่คุ้นเคยอยู่บ้าง | |
เลิกทำ และ ทำซ้ำ การแก้ไขที่คุณสร้าง | |
รายการเลือกดึงลงหัวเรื่อง: ทำให้คุณเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบย่อหน้า ในการเปลี่ยนแปลงลีลาของย่อหน้า ให้คุณวางเคอร์เซอร์ไว้ในย่อหน้าแล้วเลือกรายการในรายการเลือกนี้ (ไม่จำเป็นต้องเน้นข้อความใด ๆ ทั้งสิ้น) ชื่อส่วน (section) จะจัดรูปแบบเป็น "หัวเรื่อง" และส่วนย่อย (subsection) เป็น "หัวเรื่องรอง 1", "หัวเรื่องรอง 2" ฯลฯ "ย่อหน้า" เป็นรูปแบบปกติสำหรับข้อความ | |
การจัดรูปแบบ: เมื่อกด "A" จะเปิดรายการเลือก
หากคุณไม่ได้เลือกข้อความใด เมื่อคุณกด "A" เพื่อเปิดรายการเลือก แล้วคลิกรายการหนึ่ง การจัดรูปแบบจะใช้กับข้อความที่คุณพิมพ์หลังจากนั้น เริ่มจากตำแหน่งของเคอร์เซอร์ | |
เครื่องมือการเชื่อมโยง: สัญรูปโซ่เป็นเครื่องมือการเชื่อมโยง เมื่อคลิกแล้ว (ปกติหลังเลือกข้อความส่วนหนึ่ง) จะเปิดคำโต้ตอบลิงก์ | |
รายการเลือกอ้างอิง: รายการ "อ้างอิง" ใช้เพื่อเพิ่มแหล่งที่มาในบรรทัด (เรียกร้อง "เชิงอรรถ" หรือ "อ้างอิง") ทุกโครงการเข้าถึงการจัดรูปแบบอ้างอิงพื้นฐานและความสามารถใช้แหล่งที่มาซ้ำโดยรายการเลือกนี้ นอกจากนี้ ยังให้ผู้ใช้เข้าถึงแม่แบบแหล่งที่มาท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว หากเปิดใช้งานแม่แบบดังกล่าวในวิกิของตน
(ดูคำชี้แจงสำหรับการเพิ่มแม่แบบแหล่งที่มาท้องถิ่นเข้ารายการเลือกอ้างอิงในวิกิจำเพาะได้ที่ VisualEditor/Citation tool ) | |
ปุ่ม อ้างอิง: หากเปิดใช้งานบริการไซทอยด์บนวิกิของคุณ คุณจะเห็นปุ่ม อ้างอิง แทนรายการเลือก อ้างอิง
บริการไซทอยด์พยายมกรอกแม่แบบแหล่งที่มาอัตโนมัติ | |
รายการและย่อหน้า: สองสัญรูปแรกให้คุณจัดรูปแบบข้อความเป็น "รายการสัญลักษณ์" หรือ "รายการลำดับเลข" สองรายการหลังให้คุณเพิ่มหรือลดระดับการเยื้องรายการ | |
แทรก: รายการเลือก "แทรก" อาจแตกต่างกันในบางโครงการ ด้านล่างเป็นตัวเลือกทั้งหมดที่อาจปรากฏ
| |
การแทรกอักขระพิเศษ: สัญรูป "อักขระพิเศษ" (Ω) อยู่ถัดจากรายการเลือก "แทรก" เมื่อกดจะแสดงคำโต้ตอบที่แสดงอักขระพิเศษจำนวนมาก เมื่อคลิกที่อักขระใดอักขระหนึ่งจะเป็นการวางในข้อความ อักขระพิเศษเหล่านี้ประกอบด้วยสัญลักษณ์มาตรฐาน เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและเครื่องหมายคณิตศาสตร์ (รายการนี้อาจปรับแต่งได้ในท้องถิ่น ดูคำชี้แจงที่ VisualEditor/Special characters ) |
ปุ่มประกาศแก้ไขแสดงผลประกาศใด ๆ สำหรับหน้านั้น | |
รายการเลือก ตัวเลือกหน้า อยู่ซ้ายมือของปุ่ม เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง และรายการเลือก "เปลี่ยนเครื่องมือแก้ไข" ในรายการเลือกนี้มีปุ่มเปิดคำโต้ตอบตัวเลือกโดยมีแถบดังต่อไปนี้ (อยู่ซ้ายมือ)
แถบคำโต้ตอบตัวเลือกยังแสดงผลในรายการเลือกตัวเลือกหน้า สามารถเปิดได้โดยคลิก ยิ่งไปกว่านั้นรายการเลือกตัวเลือกหน้ายังมีปุ่ม ดูเป็นขวาไปซ้าย และปุ่ม ค้นหาและแทนที่ ซึ่งเปิดคำโต้ตอบที่คุณสามารถแทรกอักขระ พจน์หรือนิพจน์ปรกติที่คุณกำลังค้นหาและที่จะแทนที่ ร่วมกับตัวเลือกอีกหลายปุ่ม | |
ปุ่มเปลี่ยนเป็นการแก้ไขต้นฉบับอยู่ถัดจากปุ่ม เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งจพทำให้คุณเปลี่ยนเป็นเครื่องมือแก้ไขแบบข้อความวิกิ |
การเผยแพร่การเปลี่ยนแปลง
เมื่อคุณแก้ไขเสร็จแล้ว คลิกปุ่ม "เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง" สีน้ำเงินในแถบเครื่องมือ ถ้ายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ปุ่มจะยังปิดใช้งาน (เป็นสีเทา) หากต้องการยกเลิกการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทั้งหมด ให้ปิดหน้าต่างเบราว์เซอร์ หรือกดแถบ "อ่าน" ที่อยู่บนแถบเครื่องมือแก้ไข | |
การกดปุ่ม "เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง" สีน้ำเงินจะเปิดคำโต้ตอบ คุณสามารถกรอกความย่อการแก้ไขการกระทำของคุณ ระบุว่าการแก้ไขของคุณเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และเพิ่มหน้าเข้ารายการเฝ้าดู กล่องสำหรับความย่อเทียบเท่ากับเขตข้อมูลความย่อ:ในเครื่องมือแก้ไขข้อความวิกิ
คุณยังสามารถทบทวนการเปลี่ยนแปลงของคุณโดยใช้ปุ่ม "ทบทวนการเปลี่ยนแปลงของคุณ" เพื่อยืนยันว่าการแก้ไขนั้นจะทำงานได้ตามที่คุณประสงค์ก่อนบันทึกการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคล้ายกับปุ่ม "แสดงการเปลี่ยนแปลง" ในเครื่องมือแก้ไขข้อความวิกิ ปุ่ม "แก้ไขต่อ" ให้คุณย้อนกลับไปหน้าที่คุณกำลังแก้ไข คุณสามารถเผยแพร่การเปลี่ยนแปลงของคุณทีหลังได้ |
การแก้ไขลิงก์
สามารถเพิ่มลิงก์ผ่านสัญรูป "ลิงก์" (รูปข้อต่อโซ่) ในแถบเครื่องมือหรือผ่านทางลัด Ctrl+K (หรือ ⌘ Command+K บนแมค)
หากคุณเลือก (เน้น) ข้อความแล้วกดปุ่ม "ลิงก์" จะใช้ข้อความนั้นในการสร้างลิงก์ สำหรับลิงก์ที่ใช้คำคำเดียว คุณสามารถเลือกคำคำนั้นหรือเพียงวางเคอร์เซอร์ในคำนั้นก็ได้ | |
ไม่ว่าคุณจะกดปุ่มในแถบเครื่องมือหรือผ่านทางลัด หน้าต่างจะปรากฏให้คุณพิมพ์ลิงก์ที่คุณต้องการเชื่อม VisualEditor จะพยายามช่วยคุณหาลิงก์ภายใน (ลิงก์หน้าอื่นๆ ของวิกิพีเดีย) โดยการค้นหาหน้าที่อาจใช่ทันทีที่คุณเริ่มพิมพ์
เครื่องมือลิงก์จะพยายามช่วยเหลือลิงก์ภายในโดยการค้นหาคำตรงกันที่เป็นไปได้ เวลาคุณกรอกหรือเลือกลิงก์ การกด ↵ Enter หรือกดปุ่ม "สำเร็จ" จะเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการเชื่อมโยง ลิงก์ของคุณจะปรากฏบนหน้าทันที แต่จะยังไม่เผยเแพร่จนกว่าจะเผยแพร่ทั้งหน้าพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น | |
การลิงก์ไปยังเว็บเพจในเว็บไซต์อื่นมีกระบวนการคล้ายกัน: เลือกแถบ "External site" แล้วกรอกยูอาร์แอลในกล่อง | |
ลิงก์ภายนอกที่ไม่มีป้ายจะเป็นดังตัวอย่าง: [1] คุณสามารถเพิ่มลิงก์ภายนอกโดยวางเคอร์เซอร์ไม่ให้อยู่บนคำใดคำหนึ่ง (เช่น ตามหลังช่องว่าง) เปิดเครื่องมือลิงก์โดยกดปุ่มหรือกดแป้นทางลัด พิมพ์ยูอาร์แอลในกล่อง แล้วกดปุ่ม"สำเร็จ" เพื่อแทรกลิงก์ | |
ในการเปลี่ยนแปลงหรือลบลิงก์ที่มีอยู่แล้ว กดภายในข้อความสำหรับลิงก์นั้น แล้วกดสัญรูป "ลิงก์" ซึ่งปรากฏอยู่ใกล้เคียง จะปรากฏคำโต้ตอบสำหรับแก้ไข คุณยังสามารถไปยังคำโต้ตอบดังกล่าวได้โดยกดทางลัดคีย์บอร์ด Ctrl+K ก็ได้ เมื่อเลือกลิงก์ จะปรากฏโดยมีกรอบสีน้ำเงิน
ในคำโต้ตอบแก้ไขลิงก์ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงปลายทางของลิงก์ คุณยังสามารถลบลิงก์ได้โดยกดปุ่ม "ลบออก" ที่อยู่มุมขวาบนของคำโต้ตอบ คุณยังสามารถเปิดเป้าหมายลิงก์ในหน้าต่างอื่นได้โดยกดสำเนาของลิงก์ในกล่องคำโต้ตอบ (เผื่อคุณต้องการตรวจสอบว่าลิงก์ภายนอกนั้นใช้การได้หรือไม่) หากคุณต้องการออกจากป้ายลิงก์ (ข้อความที่แสดงผลเป็นลิงก์) หรือเขียนต่อหลังจากลิงก์นี้ สามารถกด →:
ในการแก้ไขป้ายลิงก์สำหรับลิงก์ที่มีอยู่ ให้กดภายในป้ายลิงก์แล้วกรอกป้ายใหม่ แต่ห้ากคุณต้องการเปลี่ยนทั้งป้าย กรุณาทราบว่า:
|
การแก้ไขแหล่งอ้างอิง
- For further information, see คำอธิบายการใช้แม่แบบยกแหล่งที่มา หรือคำอธิบายการใช้ปุ่ม Cite ของไซทอยด์
การดูว่าใช้ระบบใด | |
วิกิของคุณอาจใช้ระบบเชิงอรรถหนึ่งในสามระบบ ระบบที่แสดงด้านขวามือเป็นระบบง่ายสุด โดยที่รายการเลือก "อ้างอิง" ไม่รวมแม่แบบยกแหล่งที่มาใด หากวิกิของคุณใช้ระบบนี้ คุณจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับเชิงอรรถเฉพาะเท่าที่อยู่ในหน้านี้ | |
ระบบที่สองมีรายการเลือก "อ้างอิง" ประเภทเดียวกัน แต่มีแม่แบบยกแหล่งที่มาที่ได้รับความนิยมหลายแม่แบบสำหรับเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว หากวิกิของคุณใช้ระบบนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมจะอยู่ที่ Help:VisualEditor/User guide/Citations-Templates | |
ในระบบที่สาม คุณเริ่มจากการกดปุ่ม Cite เช่นกัน จะปรากฏกล่องคำโต้ตอบซึ่งมีกระบวนการยกแหล่งที่มาอัตโนมัติโดยใช้บริการไซทอยด์ หากวิกิของคุณใช้ระบบนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมจะอยู่ที่ Help:VisualEditor/User guide/Citations-Full | |
แก้ไขแหล่งอ้างอิงที่มีอยู่ | |
ในการแก้ไขแหล่งอ้างอิงที่มีอยู่แล้ว ให้กดที่แหล่งอ้างอิงนั้นที่ปรากฏในข้อความ (ปกติเป็นเลขในวงเล็บเหลี่ยม) คุณจะเห็นสัญรูป "แหล่งอ้างอิง" (ที่คั่นหนังสือ) หรือสัญรูป (และชื่อ) สำหรับแม่แบบที่ใช้สร้างแหล่งอ้างอิงนั้น ทั้งสองกรณี เมื่อกดปุ่ม "แก้ไช" จะเปิดคำโต้ตอบให้คุณแก้ไขแหล่งที่มา | |
สำหรับสัญรูป "แหล่งอ้างอิง" เมื่อกด "แก้ไข" จะเป็นการเปิดคำโต้ตอบอ้างอิง การเปลี่ยนแปลงสารนิเทศแหล่งอ้างอิงให้เริ่มจากกดปุ่ม
หลายวิกิใช้แม่แบบในการจัดรูปแบบแหล่งอ้างอิงในมาตรฐานที่แตกต่างกัน คุณจะสังเกตได้เมื่อคุณแก้ไขแหล่งอ้างอิงที่มีอยู่และพบว่าเนื้อหาข้อความอ้างอิงเปลี่ยนเป็นสีฟ้าเมื่อคุณเลือกมัน หากใช้แม่แบบและคุณกดสารนิเทศอ้างอิง จะปรากฏสัญรูป แม่แบบ (ชิ้นส่วนจิ๊กซอว์) พร้อมกับสารนิเทศบางส่วน เมื่อกดปุ่ม "แก้ไข" จะแก้ไขเนื้อหาของแม่แบบนั้นในคำโต้ตอบเครื่องมือแก้ไขแม่แบบขนาดย่อม |
|
หากสิ่งที่ปรากฏเมื่อคุณกดอ้างอิงเป็นสัญรูปสำหรับแม่แบบมาตรฐานสำหรับการยกแหล่งที่มา (ตัวอย่างอยู่ขวามือ) แล้วเมื่อกด "แก้ไข" จะเปิดคำโต้ตอบเครื่องมือแก้ไขแม่แบบขนาดย่อม | |
ภายในเครื่องมือแก้ไขแม่แบบขนาดย่อม คุณสามารถเพิ่มหรือลบประเภทของสารสนเทศหรือเปลี่ยนเนื้อหาปัจจุบันได้ ทีแรกจะแสดงเฉพาะเตข้อมูล (ตัวแปรเสริมแม่แบบ) ที่มีเนื้อหา ในการเพิ่มเขตข้อมูลให้เกิด "เพิ่มข้อมูลอีก" ที่อยู่ด้านล่างของเครื่องมือแก้ไขขนาดย่อมดังกล่าว | |
คลิกที่ "ใช้การเปลี่ยนแปลง" เมื่อคุณเสร็จแล้ว | |
การใช้แหล่งอ้างอิงที่มีอยู่แล้วซ้ำ | |
หากหน้านั้นมีการยกแหล่งที่มาที่ใช้แก่ข้อความที่คุณต้องการระบุแหล่งที่มาแล้ว คุณสามารถเลือกใช้การยกแหล่งที่มาที่มีอยู่แล้วซ้ำได้
ในการใช้แหล่งอ้างอิงที่มีอยู่แล้วซ้ำ ให้วางเคอร์เซอร์ในข้อความที่คุณต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงใหม่ (เลข) สำหรับการยกแหล่งที่มานั้น แล้วกดรายการ "ใช่แหล่งอ้างอิงซ้ำ" จากรายการเลือก "$cite" (หมายเหตุ: หากวิกิของคุณใช้ระบบเชิงอรรถระบบที่สามดังที่อธิบายไว้ข้างต้น คุณจะเห็นแถบ "ใช้ซ้ำ" ในคำโต้ตอบ แทนรายการเลือก "ใช้ซ้ำ" ในรายการเลือก "อ้างอิง") |
|
ในคำโต้ตอบ$reference-title ให้ดูรายการแหล่งอ้างอิงที่คุณต้องการใช้ซ้ำแล้วเลือก หากมีแหล่งอ้างอิงหลายแหล่ง คุณสามารถใช้กล่องค้นหา (ระบุว่า "$input") ให้แสดงรายการเฉพาะแหล่งอ้างอิงที่มีข้อความที่ใส่ในช่องค้นหา | |
การเพิ่มแหล่งอ้างอิงใหม่ | |
ในการเพิ่มการยกแหล่งที่มาโดยใช้รายการเลือก "$cite" ให้วางเคอร์เซอร์ของคุณในที่ที่คุณต้องการเพิ่มการยกแหล่งที่มาในข้อความ แล้วเลือกประเภทการยกแหล่งที่มาให้เหมาะสมในรายการเลือก | |
การใช้การยกแหล่งที่มา "พื้นฐาน" | |
ที่แสดงอยู่นี้เป็นสิ่งที่คุณจะเห็นเมื่อเลือกรายการอ้างอิงพื้นฐาน ในเครื่องมือแก้ไขแหล่งอ้างอิง คุณสามารถเพิ่มการยกแหล่งที่มารวมทั้งการจัดรูปแบบได้
คุณสามารถทำให้แหล่งอ้างอิงนั้นอยู่ในกลุ่มหนึ่ง ๆ ได้ แม้ปกติแล้วควรจะปล่อยว่างไว้ (ตัวเลือกนี้ใช้เพื่อแสดงผลกลุ่มแหล่งอ้างอิงด้วยเครื่องมือ "รายการอ้างอิง") |
|
ในคำโต้ตอบแหล่งอ้างอิง หากคุณต้องการใส่แม่แบบการยกแหล่งที่มา หรือแม่แบบอื่นในแหล่งอ้างอิงใหม่ ให้กดสัญรูปแม่แบบ (ชิ้นส่วนจิ๊กซอว์) ในรายการเลือกแถบเครื่องมือ "แทรก" ในเครื่องมือแก้ไขแหล่งอ้างอิง | |
แล้วมองหาแม่แบบที่คุณต้องการใช้ เพิ่มและแก้ไขแบบเดียวกับแม่แบบอื่น (ดูส่วนการแก้ไขแม่แบบด้านล่าง หากคุณต้องสารทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับแม่แบบ)
เมื่อแก้ไขแม่แบบใหม่เสร็จแล้ว ให้กด "ใช้การเปลี่ยนแปลง" เพื่อย้อนกลับมาเครื่องมือแก้ไขแหล่งอ้างอิง และกด "ใช้การเปลี่ยนแปลง" อีกครั้งเพื่อย้อนกลับไปหน้าที่คุณกำลังแก้ไข |
|
หากไม่มีรายการแหล่งอ้างอิงอยู่ในหน้าอยู่แล้ว (ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังเพิ่มแหล่งอ้างอิงแรกเข้าหน้า) คุณจำเป็นต้องเจาะจงว่ารายการแหล่งอ้างอิงและข้อความนั้นจะแสดงผลให้แก่ผู้อ่านที่ใด
ให้วางเคอร์เซอร์ไว้ ณ ตำแหน่งที่คุณต้องการแสดงผลรายการแหล่งอ้างอิง (ปกติอยู่ท้ายหน้า) ให้เปิดรายการเลือก "แทรก" แล้วกดสัญรูป "รายการอ้างอิง" (หนังสือสามเล่ม) |
|
หากคุณกำลังใช้แหล่งอ้างอิงหลายกลุ่มซึ่งค่อนข้างพบน้อย คุณสามารถเจาะจงกลุ่มในคำโต้ตอบนี้ได้ จะแสดงผลเฉพาะแหล่งอ้างอิงที่อยู่ในกลุ่มที่เลือกในตำแหน่งที่คุณวางกลุ่มนั้นในหน้า
ขั้นตอนสุดท้ายในคำโต้ตอบรายการแหล่งอ้างอิงคือกด "แทรก" |
|
การใช้แม่แบบยกแหล่งที่มามาตรฐาน | |
วิกิท้องถิ่นของคุณอาจเพิ่มแม่แบบยกแหล่งที่มาเพิ่มเข้ารายการเลือก "อ้างอิง" หากเป็นเช่นนั้น คุณสามารถเข้าถึงแม่แบบยกแหล่งที่มาที่ใช้บ่อยที่สุดในวิกิของคุณ (มีคำชี้แจงสำหรับการเพิ่มแม่แบบยกแหล่งที่มาเพิ่มเข้าวิกิท้องถิ่นของคุณที่ VisualEditor/Citation tool ) | |
เมื่อกดสัญรูปแม่แบบอย่าง "ยกแหล่งที่มาหนังสือ" จะนำคุณไปยังเครื่องมือแก้ไขแม่แบบขนาดย่อมสำหรับแม่แบบนั้น เขตข้อมูลสารนิเทศสำคัญอาจทำเครื่องหมายด้วยดอกจัน (*) ส่วนเขตข้อมูลที่ใช้มากที่สุดจะแสดง ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องกรอกบางเขตข้อมูล | |
ในการเพิ่มตัวแปรเสริมอีก ให้เลื่อนลงมาในเครื่องมือแก้ไขแม่แบบขนาดย่อม แล้วกดตัวเลือก "เพิ่มข้อมูลอีก"
กด "แทรก" เมื่อคุณดำเนินการเสร็จ |
การแก้ไขภาพและไฟล์สื่ออื่น
การแก้ไขภาพ | |
ในการการเพิ่มภาพใหม่ (หรือไฟล์สื่อประเภทอื่น) ลงในหน้า ให้กดสัญรูป "ภาพและสื่อ (รูปภูเขา) ในรายการเลือก "แทรก" จะเพิ่มภาพ ณ ตำแหน่งของเคอร์เซอร์ | |
เมื่อกดสัญรูป "ภาพและสื่อ" จะเปิดคำโต้ตอบที่ค้นหาวิกิมีเดียคอมมอนส์และวิกิท้องถิ่นของคุณอัตโนมัติเพื่อหาไฟล์สื่อที่สัมพันธ์กับชื่อเรื่องหน้าที่คุณกำลังแก้ไขอยู่
คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการค้นหาโดยเปลี่ยนข้อความในกล่องค้นหาของคำโต้ตอบ คลิกที่รูปย่อเพื่อเลือกไฟล์ จะเป็นการเพิ่มภาพลงในหน้าที่คุณกำลังแก้ไข |
|
หลังแทรกภาพที่คุณเลือกลงในหน้าแล้ว จะเปิดคำโต้ตอบอีกอันหนึ่ง คำโต้ตอบทำให้คุณเพิ่มและแก้ไขคำบรรยายภาพ ซึ่งสามารถใส่การจัดรูปแบบและลิงก์ได้ | |
คำโต้ตอบสื่อยังเปิดให้คุณเพิ่มคำบรรยายภาพที่เป็นข้อความทางเลือก (alternative text) เพื่อช่วยผู้อ่านที่ใช้โปรแกรมอ่านจอภาพ หรือผู้ที่ปิดใช้งานการแสดงผลภาพ | |
คุณสามารถตั้งตัวแปรเสริมต่าง ๆ สำหรับภาพในหน้าต่าง "การตั้งค่าขั้นสูง" ซึ่งรวมถึงการปรับแนว ชนิดและขนาดภาพ | |
เมื่อคุณเสร็จแล้ว กด "ใช้การเปลี่ยนแปลง" เพื่อปิดคำโต้ตอบและย้อนกลับไปแก้ไขหน้าเดิม | |
สำหรับภาพที่มีอยู่แล้ว คุณสามารถเพิ่มหรือแก้ไขคำบรรยายภาพ หรือแก้ไขการตั้งค่าอื่นโดยกดที่ภาพ แล้วกดสัญรูป "ภาพและสื่อ" ที่ปรากฏอยู่ใต้ภาพ
คุณสามารถปรับขนาดภาพที่มีอยู่แล้วโดยกดที่ภาพ แล้วเลื่อนสัญรูปปรับขนาด (ลูกศรสองหัวที่อยู่มุมด้านล่างซึ่งอาจมีด้านเดียวหรือสองด้าน) คุณยังสามารถลากและวางภาพไปยังตำแหน่งที่อยู่สูงขึ้นไปหรือล่างลงมาในภาพได้ |
การอัปโหลดภาพ
คุณสามารถอัปโหลดภาพจากแถบในคำโต้ตอบสื่อ หรือโดยลากและวางไฟล์ลงในเครื่องมือแก้ไข หรือโดยวางภาพจากคลิปบอร์ดของคุณ | |
กดแถบ "อัปโหลด" แล้วเลือกภาพจากคอมพิวเตอร์ของคุณ คุณสามารถเพิ่มชื่อไฟล์ หรือลากภาพลงในกล่อง หากคุณลากและวางภาพลงในเครื่องมือแก้ไขโดยตรง หรือวางภาพจากคลิปบอร์ดของคุณ แถบนี้จะเปิดอัตโนมัติ | |
คุณจำเป็นต้องบรรยายภาพและเพิ่มหมวดหมู่เพื่อให้ผู้อื่นหาพบ | |
จะแทรกภาพลงในหน้าเมื่อคุณเสร็จสิ้น |
การแก้ไขแกลอรีสื่อ
ในการเพิ่มแกลอรีใหม่ ให้กดสัญรูป "แกลเลอรี" (ชุดภาพถ่าย) ในรายการเลือก "แกลเลอรี" (หากคุณไม่เห็นสัญรูปนี้ในรายการเลือกแปลว่าวิกอท้องถิ่นของคุณตัดสินใจชะลอการนำฟังก์ชันนี้ในปฏิบัติในเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ) | |
ในการแก้ไขแกลอรีที่มีอยู่แล้วในเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ ให้กดแกลอรีนั้น แล้วกดสัญรูปแกลอรี (ชุดภาพถ่าย) ที่อยู่ใกล้ล่างสุดของแกลอรี จะปรากฏเครื่องมือแก้ไขแกลอรี โดยมีรายการภาพเต็มที่รวมอยู่ในแกอลรีนั้น | |
เครื่องมือแก้ไขแกลอรีปัจจุบันเป็นกล่องเรียบ ๆ ที่ให้คุณแก้ไขแกลอรีที่มีอยู่แล้วโดยใช้มาร์กอัพข้อความวิกิ ในการเพิ่มภาพใหม่ลงในแกลอรีที่มีอยู่แล้ว ให้พิมพ์ชื่อไฟล์ ตามด้วยขีดตั้ง (| ) และคำบรรยายสำหรับภาพนั้น ภาพในแกลอรีต้องใส่หนึ่งบรรทัดต่อหนึ่งภาพ คุณยังสามารถแก้ไขรายการนี้เพื่อลบหรือจัดเรียงภาพหรือเพื่อเปลี่ยนคำบรรยายภาพ
เมื่อคุณกดปุ่ม "$dialogdone" คุณจะออกจากเครื่องมือแก้ไขแกลอรี จากนั้นคุณควรดูการเปลี่ยนแปลงของคุณ โดยมีแกลอรีที่จะปรากฏแก่ผู้อ่าน ระลึกว่าการออกเครื่องมือแก้ไขแกลอรียังไม่เผยแพร่การเปลี่ยนแปลงของคุณ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงอื่นที่ใช้เครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ คุณต้องเผยแพร่ทั้งหน้าเพื่อเผยแพร่งานของคุณ |
การแก้ไขแม่แบบ
การเริ่มต้น
ในการเพิ่มแม่แบบลงในหน้า ให้วางเคอร์เซอร์ที่ที่คุณต้องการแทรกแม่แบบ และกดสัญรูป "แม่แบบ" (ชิ้นส่วนจิ๊กซอว์) ในรายการเลือก "แทรก" | |
เริ่มต้นพิมพ์ชื่อแม่แบบที่คุณต้องการแทรก เมื่อคุณเห็นชื่อนั้นในรายการแล้ว สามารถกดเลือกชื่อนั้น แล้วกด "เพิ่มแม่แบบ" | |
คุณยังสามารถแก้ไขแม่แบบที่มีอยู่ในหน้าอยู่แล้วได้ เมื่อคุณกดเลือกที่แม่แบบ จะกลายเป็นสีน้ำเงิน แล้วจะมีกล่องปรากฏพร้อมสัญรูป "แม่แบบ" (ชิ้นส่วนจิ๊กซอว์) แล้วกดลิงก์ "แก้ไข" | |
บางคนที่อ่านหน้าอาจมองไม่เห็นบางแม่แบบ ในเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ แม่แบบซ่อนดังกล่าวจะแสดงเป็นสัญรูปจิ๊กซอว์ ชื่อของแม่แบบจะแสดงอยู่ถัดจากสัญรูปจิ๊กซอว์ | |
เมื่อคุณเลือกสัญรูป จะแสดงรายการเลือกบริบท และคุณสามารถแก้ไขแม่แบบ | |
พารามิเตอร์แม่แบบ | |
เมื่อคุณเพิ่มแม่แบบใหม่หรือเปิดแม่แบบเดิม จะแสดงคำโต้ตอบ "ใช้แม่แบบ" เนื้อหาขึ้นอยู่กับว่าแม่แบบนั้นมีการทำเอกสารกำกับโดยใช้ระบบ TemplateData แบบใหม่แล้วหรือยัง | |
แม่แบบที่แสดงอยู่ตรงนี้ไม่มีการตั้ง TemplateData ของแม่แบบ ฉะนั้นคำโต้ตอบจึงมีลิงก์ไปยังเอกสารกำกับสำหรับแม่แบบ เมื่อคุณเข้าเอกสารกำกับ คุณควรสามารถบอกได้ว่าแม่แบบมีพารามิเตอร์ (เขตข้อมูล) หรือไม่ และข้อมูลใดใช้ในเขตข้อมูลใด สามารถใช้เลขแทนตัวแปรเสริมที่ไม่ระบุชื่อได้ พารามิเตอร์ที่ไม่ระบุชื่อแรกชื่อว่า 1 พารามิเตอร์ที่สองชื่อ 2 เป็นต้น
|
|
หากมีการปรับแม่แบบให้ระบุสารนิเทศ TemplateData คำโต้ตอบจะแสดงรายชื่อพารามิเตอร์ (ระบุชื่อ) ทั้งหมด | |
สำหรับแม่แบบที่มีอยู่แล้ว คุณสามารถแก้ไขพารามิเตอร์ที่แสดงในคำโต้ตอบ และคุณสามารถเพิ่มพารามิเตอร์โดยกด "เพิ่มข้อมูลอีก" ที่อยู่ล่างสุดของคำโต้ตอบ | |
เมื่อแม่แบบฝังแม่แบบอื่น แม่แบบย่อยจะปรากฏอยู่ในพารามิเตอร์ที่แสดงผล สามารถแก้ไขหรือลบแม่แบบย่อยในเขตข้อมูลพารามิเตอร์ได้
เพิ่มแม่แบบย่อยใหม่โดยปฏิบัติตามขั้นตอนสำหรับเพิ่มพารามิเตอร์ คุณอาจต้องตรวจสอบเอกสารกำกับแม่แบบเพื่อให้แน่ใจว่ารองรับแม่แบบย่อย ปัจจุบันแม่แบบซ้อนในสามารถแก้ไขได้เฉพาะด้วยข้อความวิกิ โดยไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ (ดู phab:T52182) |
|
การเสร็จสิ้น | |
เมื่อคุณแก้ไขแม่แบบแล้วเสร็จ กด "ใช้การเปลี่ยนแปลง" เพื่อปิดคำโต้ตอบแล้วกลับไปแก้ไขหน้าหลัก | |
การแทนที่แม่แบบ | |
เมื่อต้องแทนที่ (substitute) แม่แบบ ให้พิมพ์ subst: (ใส่โคลอนด้วย) ก่อนชื่อแม่แบบ
การเติมคำอัตโนมัติ (autocomplete) จะไม่ทำงานกับ แล้วจึงกดปุ่ม "$add-transclusion" สีน้ำเงิน เพิ่มพารามิเตอร์ตามปกติแล้วกด "$apply" |
|
คุณจะเห็นแม่แบบขยายในหน้าหลังคุณกด "$apply" |
การแก้ไขรายการ
คุณสามารถใช้เครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพเพื่อสร้างรายการ หรือเปลี่ยนรูปแบบของรายการที่มีอยู่เดิม มีรายการสองประเภท คือ รายการไม่เรียงลำดับ (จุดนำ) และเรียงลำดับ (เลขนำ)
ในการเริ่มรายการใหม่ ให้กดรายการหนึ่งจากสองรายการที่แสดง หรือหากคุณพิมพ์รายการแล้ว (แยกคนละบรรทัด) สามารถเลือก (เน้น) รายการที่พิมพ์ แล้วค่อยกดเลือกรายการก็ได้ | |
ที่แสดงอยู่นี้เป็นตัวอย่างของรายการสองประเภท: รายการไม่เรียงลำดับ (จุดนำ) และเรียงลำดับ (เลขนำ) | |
หากคุณต้องการเปลี่ยนระดับการย่อหน้าของส่วนรายการที่มีอยู่แล้ว ให้เลือกส่วนของรายการที่คุณต้องการเปลี่ยน | |
แล้วใช้รายการเลือก หรือกดแป้น Tab (แป้น Tab เพิ่มย่อหน้า, แป้น Shift+Tab ลดย่อหน้า) | |
ผลของการเพิ่มย่อหน้าเป็นดังนี้ | |
คุณสามารถผสมรายการเรียงลำดับ (เลขนำ) และไม่เรียงลำดับ (จุดนำ) ด้วยกันได้ หากข้อมูลในรายการมีย่อหน้าต่างระดับกัน |
การแก้ไขตาราง
คุณสามารถใช้เครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพเพื่อแทรกและเปลี่ยนตาราง
คุณสามารถนำเข้าตารางโดยการลากไฟล์ค่าที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (.csv) จากคอมพิวเตอร์คุณเข้าหน้าต่างแก้ไขหลัก | |
เมื่อคุณกด "ตาราง" ในรายการเลือก "แทรก" เครื่องมือแก้ไขแทรกตารางว่างขนาด 4 คูณ 4
เมื่อรายการเลือก "ตาราง" แล้ว จากรายการเลือกนั้น คุณสามารถเพิ่มคำบรรยายไว้หัวตารางได้ |
|
ในการเลือกเซลล์ ให้กดหนึ่งครั้ง | |
ในการแก้ไขเนื้อหาของเซลล์ (ตัวอย่างเช่น เพื่อเพิ่มเนื้อหาหรือแก้ไขการสะกด) ให้กดเซลล์สองครั้ง หรือกดเลือกเซลล์แล้วกด Return (Enter)
ในการยุติการแก้ไขเซลล์ เพียงแค่กดที่อื่น |
|
คุณสามารถเพิ่มหรือลบแถวตั้งหรือแถวนอน | |
คุณสามารถผสานเซลล์ได้ ให้เลือกเซลล์ที่จะผสาน แล้วกด "Merge cells" จากรายการเลือกตาราง | |
หากคุณผสานเซลล์ จะเก็บข้อความจากเซลล์เดียว และข้อความอื่นใดในเซลล์อื่นจะถูกลบเมื่อผสาน หากคุณตัดสินใจว่าคุณต้องการเก็บข้อความบางส่วนหรือทั้งหมดที่ถูกลบ ให้ใช้วิธีกดปุ่มทำกลับ แล้วย้ายหรือคัดลอกข้อความที่ต้องการก่อน แล้วจึงผสานเซลล์อีกครั้ง | |
คุณยังสามารถแบ่งเซลล์ที่ผสานก่อนหน้านี้ เนื้อหาทั้งหมดที่อยู่ในเซลล์ผสานจะยังอยู่ในเซลล์แรกเมื่อคุณแยก คุณสามารถตัดและวางข้คอวามในเซลล์อื่นได้ตามต้องการ |
การแก้ไขหมวดหมู่
ในการแก้ไขหมวดหมู่ ให้กดรายการ "หมวดหมู่" ในรายการเลือก "ตัวเลือกหน้า" | |
เมื่อกด "หมวดหมู่" จะเปิดคำโต้ตอบซึ่งแสดงรายการหมวดหมู่ที่มีอยู่ และให้คุณเพิ่มหมวดหมู่ใหม่และลบหมวดหมู่ที่มีอยู่
คุณยังมีตัวเลือกตั้งหรือเปลี่ยนแป้นเรียงลำดับทั่วไป (โดยปริยาย) ซึ่งตัดสินว่าหน้านั้นจะปรากฏอยู่ลำดับใดเมื่อเรียงลำดับพร้อมกับหน้าอื่นในหมวดหมู่เดียวกัน ตัวอย่างเช่น แป้นเรียงลำดับโดยปริยายของบทความ "George Washington" คือ "Washington, George" ในหมวดหมู่ "ประธานาธิบดีสหรัฐ" บทความจะแสดงรายการอยู่ภายใต้อักษร "W" ไม่ใช่อักษร "G" (สำหรับตัวอย่างภาษาไทย "ไก่" แป้นเรียงลำดับจะเป็น "กไ" เพื่อให้เรียงลำดับโดยใช้อักษร "ก" ก่อน แล้วจึงเรียงลำดับด้วย "ไ" ซึ่งคล้ายกับการเรียงคำของพจนานุกรม) | |
ในการเพิ่มหมวดหมู่สำหรับหน้า ให้พิมพ์ชื่อแม่แบบลงในเขตข้อมูล "เพิ่มหมวดหมู่" ระหว่างที่พิมพ์ เครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพจะค้นหาแม่แบบเป็นไปได้ที่อาจตรงกันด้วย จากนั้นคุณสามารถเลือกหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วหรือคุณสามารถเพิ่มหมวดหมู่ที่ยังไม่มีหน้าหมวดหมู่ก็ได้ (ถ้ายังไม่สร้างหน้าหมวดหมู่จะปรากฏเป็นลิงก์แดงหลังคุณเผยแพร่การเปลี่ยนแปลง) | |
การลบหมวดหมู่ที่มีอยู่เดิมให้กดเลือกหมวดหมู่แล้วคลิกสัญรูป "ลบออก" (ถังขยะ) ในคำโต้ตอบที่เปิดขึ้นมา
เมื่อกดหมวดหมู่จะให้คุณเจาะจงแป้นเรียงลำดับสำหรับหมวดหมู่นั้นโดยเฉพาะด้วย แป้นเรียงลำดับนี้จะเขียนทับแป้นเรียงลำดับทั่วไป | |
กด "ใช้การเปลี่ยนแปลง" เมื่อคุณเสร็จสิ้นการแก้ไขหมวดหมู่เพื่อย้อนกลับไปเครื่องมือแก้ไขหน้า |
การแก้ไขการตั้งค่าหน้า
ในการแก้ไขการตั้งค่าของหน้า ให้เปิดรายการเลือก "ตัวเลือกหน้า" ในแถบเครื่องมือ แล้วกดปุ่ม "การตั้งค่าหน้า" | |
ปุ่ม "การตั้งค่าหน้า" เปิดคำโต้ตอบที่แสดงหลายตัวเลือก | |
คุณสามารถสร้างหน้าเป็นหน้าเปลี่ยนทางไปหน้าอื่นโดยเลือกกล่อง "เปลี่ยนทางหน้านี้ไปยัง" แล้วพิมพ์ชื่อหน้าปลายทาง
ด้านล่างเป็นตัวเลือกในการป้องกันการเปลี่ยนชื่อหน้าจากการปรับการเปลี่ยนทางนี้ ซึ่งแทบไม่ได้ใช้ | |
คุณสามารถเปลี่ยนให้หน้าแสดงสารบัญหรือไม่โดยเลือกปุ่มสามปุ่มนี้ ตัวเลือกโดยปริยายคือ "หากต้องการ" ซึ่งแสดงสารบัญหากมีพาดหัวตั้งแต่สามพาดหัวขึ้นไป | |
คุณสามารถทำให้หน้าไม่แสดงลิงก์แก้ไขถัดจากพาดหัวส่วนโดยเลือกกล่องนี้ | |
กด "ใช้การเปลี่ยนแปลง" เมื่อคุณแก้ไข ตัวเลือกหน้า เสร็จเพื่อกลับไปเครื่องมือแก้ไขหน้า |
การแก้ไขแผนที่
คุณสามารถเพิ่มและเปลี่ยนแผนที่ ดู Help:VisualEditor/Maps |
การแก้ไขสูตรคณิตศาสตร์
ในการเพิ่มสูตรคณิตศาสตร์ใหม่ในหน้า ให้วางเคอร์เซอร์ที่ที่คุณต้องการแทรก แล้วกดสัญรูป สูตรคณิตศาสตร์" ("Σ") ในรายการเลือก "แทรก" บนแถบเครื่องมือ | |
จะเปิดหน้าต่างที่คุณสามารถพิมพ์สูตร โดยใช้วากยสัมพันธ์ LaTeX เครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพจะปรับสูตรตามที่คุณพิมพ์ ฉะนั้นคุณจะเห็นว่าการแสดงผลเป็นอย่างไรพร้อมกับที่คุณกำลังเปลี่ยนแปลง เมื่อคุณพอใจกับสูตรแล้ว ให้กดปุ่ม "แทรก" | |
ในการแก้ไขสูตรคณิตศาสตร์ที่มีอยู่แล้วในหน้า ให้กดที่สูตรแล้วกดสัญรูป "Σ" ที่ปรากฏ จะเปิดหน้าต่างสูตรแล้วให้คุณเปลี่ยนแปลง | |
สูตรคณิตศาสตร์สามารถวางในบรรทัดหรือจัดกลางเป็นบล็อกก็ได้ |
การแก้ไขโน้ตดนตรี
ในการเพิ่มเครื่องหมายดนตรีลงในหน้า ให้วางเคอร์เซอร์ที่ที่คุณต้องการแทรก แล้วกดตัวเลือก "Musical notation" ในรายการเลือก "แทรก"
ในการแก้ไขเครื่องหมายดนตรีที่มีอยู่แล้วในหน้า ให้คลิกสองครั้ง |
|
จะเปิดคำโต้ตอบ "เครื่องหมายดนตรี" ตรงนี้สามารถแก้ไขเครื่องหมายโดยสเกลในรูปแบบ ABC หรือ Lilypond คุณสามารถเชื่อมโยงเครื่องหมายไปยังเสียงหรือไฟล์ MIDI ได้ เมื่อคุณเสร็จสิ้นแล้ว ให้กดปุ่ม "เสร็จ" เพื่อปิดคำโต้ตอบและเผยแพร่การเปลี่ยนแปลง |
การแก้ไขบทกวีและรายการพิเศษอื่น
เครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพยังไม่รองรับบางรายการ เช่น association list และบทกวี อย่างสมบูรณ์ | |
ในกรณีส่วนใหญ่ รายการที่มีอยู่เดิมสามารถแก้ไขได้ แต่รายการใหม่ไม่สามารถแทรกในเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ
จนกว่าจะรองรับสมบูรณ์ คุณสามารถคัดลอกรายการที่มีอยู่แล้วจากหน้าอื่น หรือแก้ไขรหัสต้นฉบับข้อความวิกิโดยตรง |
|
การเปลี่ยนระหว่างเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพกับช้อความวิกิ
ในการเปลี่ยนจากเครื่องมือแก้ไขแบเห็นภาพเป็นเครื่องมือแก้ไขข้อความวิกิ ให้กดปุ่ม |
|
คุณจะเห็นผลต่าง (ถ้าคุณเลือก "ทิ้งการเปลี่ยนแปลง" คุณจะเห็นข้อความวิกิ พร้อมแก้ไขด้วยเครื่องมือแก้ไขข้อความวิกิ) เลื่อนลงแล้วคุณจะเห็นพื้นที่แก้ไขข้อความวิกิ |
|
คุณยังสามารถเปลี่ยนจากเครื่องมือแก้ไขข้อความวิกิเป็นเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ ให้กดสัญรูปดินสอที่อยู่ขวาสุดของแถบเครื่องมือ |
ทางลัดคีย์บอร์ด
ผู้เขียนหลายคนคุ้นเคยกับการกรอกข้อความวิกิโดยตรง โดยเฉพาะตัวเส้นหนา ตัวเอนและการเชื่อมโยงวิกิ ทางลัดคีย์บอร์ดเปิดให้แทรกการจัดรูปแบบที่คุ้นเคยได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้แถบเครื่องมือ ต่อไปนี้เป็นทางลัดสามัญสำหรับเครื่องมือแก้ไขแบบเห็นภาพ:
ทางลัดพีซี | การกระทำ | ทางลัดแมค |
---|---|---|
Ctrl+B | ตัวเส้นหนา | ⌘ Cmd+B |
Ctrl+I | ตัวเอน | ⌘ Cmd+I |
Ctrl+K | แทรกลิงก์ | ⌘ Cmd+K |
Ctrl+X | ตัด | ⌘ Cmd+X |
Ctrl+C | คัดลอก | ⌘ Cmd+C |
Ctrl+V | วาง | ⌘ Cmd+V |
Ctrl+Z | ทำกลับ | ⌘ Cmd+Z |